เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหม้าย | |
หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก | |
ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือใบสำคัญการสมรส | |
มรณบัตรของคู่สมรส |
เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหย่า | |
หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้วยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก | |
ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม | |
ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิมมรณบัตรของคู่สมรส | |
ใบสำคัญการหย่า (คร. 7) | |
คำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (เฉพาะผู้ร้องที่หย่าตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น) | |
|
* หมายเหตุ เอกสารที่ระบุไว้ในที่นี้ไม่อาจถือเป็นสิ้นสุดได้ ทั้งนี้เพราะนายทะเบียนเยอรมันมีสิทธิ์ที่จะเรียกเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก สถานทูตฯ จึงใคร่ขอแนะนำให้ผู้ร้องสอบถามจากนายทะเบียนเยอรมันโดยตรง เพื่อให้แน่ใจว่าเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน
** หมายเหตุ หนังสือรับรองสถานภาพออกโดยสำนักงานเขตหรืออำเภอที่ผู้ร้องแจ้งพำนัก และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
เอกสารของคู่สมรสสัญชาติไทย ติดต่อขอได้จากสำนักทะเบียนในสังกัด สถานทูตฯ ไม่มีหน้าที่ช่วยจัดหาเอกสารให้ ในการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบเอกสารพร้อมคำแปลภาษาเยอรมันด้วย และโดยปกติเอกสารต้นฉบับภาษาไทย จะต้องผ่านการรับรองความถูกต้อง (Legalisationsvermerk) หรือรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Echtheitsvermerk) จากสถานทูตก่อน ในการขอให้สถานทูตฯ รับรองเอกสารทั้ง 2 แบบนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงคำแปลต่อทางสถานทูตฯ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องแสดงเอกสารต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบคำแปลภาษาเยอรมันไปด้วยเสมอ อ่านเพิ่มเติม
เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพโสด | |
หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าเป็นบุคคลที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้ใด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น