วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

การจดทะเบียน สมรสกับบุคคลสัญชาติเยอรมัน ในประเทศใทย

 

 เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพโสด   หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าเป็นบุคคลที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้ใด         เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหม้าย     หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก     ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือใบสำคัญการสมรส     มรณบัตรของคู่สมรส         เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหย่า     หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้วยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก     ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม     ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิมมรณบัตรของคู่สมรส     ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)     คำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (เฉพาะผู้ร้องที่หย่าตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น)     

  • ในบางกรณี อาจต้องแสดงหนังสือรับรองการหย่าจากหน่วยงานยุติธรรมในประเทศเยอรมนี  ว่าการหย่าของไทยเป็นที่ยอมรับของเยอรมันแล้วเช่นกัน  โดยเฉพาะผู้ที่หย่าโดยความสมัครใจ ณ สำนักทะเบียนเขตหรืออำเภอในประเทศไทย  แบบฟอร์มคำร้องขอให้รับรองการหย่า ขอได้ที่สถานทูตฯ สำนักทะเบียนเยอรมัน  หรือจากwww.berlin.de/sen/justiz/struktur/a2_ausl_scheidg_hinw.html ข้อมูลเรื่องการรับรองการหย่านี้ ดูได้จากแผ่นคำแนะนำของสถานทูตฯ (เป็นภาษาเยอรมันเท่านั้น ไม่มีภาษาไทย)
     

* หมายเหตุ เอกสารที่ระบุไว้ในที่นี้ไม่อาจถือเป็นสิ้นสุดได้  ทั้งนี้เพราะนายทะเบียนเยอรมันมีสิทธิ์ที่จะเรียกเอกสารอื่นๆ  เพิ่มเติมได้อีก สถานทูตฯ  จึงใคร่ขอแนะนำให้ผู้ร้องสอบถามจากนายทะเบียนเยอรมันโดยตรง  เพื่อให้แน่ใจว่าเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน

** หมายเหตุ หนังสือรับรองสถานภาพออกโดยสำนักงานเขตหรืออำเภอที่ผู้ร้องแจ้งพำนัก และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
 

เอกสารของคู่สมรสสัญชาติไทย ติดต่อขอได้จากสำนักทะเบียนในสังกัด สถานทูตฯ ไม่มีหน้าที่ช่วยจัดหาเอกสารให้ ในการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบเอกสารพร้อมคำแปลภาษาเยอรมันด้วย และโดยปกติเอกสารต้นฉบับภาษาไทย จะต้องผ่านการรับรองความถูกต้อง (Legalisationsvermerk) หรือรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Echtheitsvermerk) จากสถานทูตก่อน ในการขอให้สถานทูตฯ รับรองเอกสารทั้ง 2 แบบนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงคำแปลต่อทางสถานทูตฯ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องแสดงเอกสารต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบคำแปลภาษาเยอรมันไปด้วยเสมอ อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสล่าสุด