ในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ท่านต้องแสดงเอกสาร/หลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ โปรดตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางของท่าน
- มีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า
- เป็นหนังสือเดินทางที่ออกนานไม่เกิน 10 ปี
- ยังมีอายุใช้งานอีกอย่างน้อย 3 เดือน นับจากวันเดินทางออกนอกประเทศสมาชิกเชงเกน
- รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
ตัวอย่างรูปถ่าย [pdf, 170.23k] - แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกนที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกน
- ลงนามรับทราบข้อกำหนดตามกฎหมายการพำนักในเยอรมนีมาตรา 54 ข้อ 6 และมาตรา 55
ข้อกฎหมายที่ต้องทราบในการยื่นวีซ่าตามมาตรา 54 ข้อ 6 และ 55 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก [pdf, 5.46k] - หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ระหว่างการเดินทางตลอดระยะเวลาที่ขอพำนัก วงเงินความคุ้มครองไม่ตํ่ากว่า30,000.—เหรียญยูโร
และ ต้องรวมบริการนำตัวกลับประเทศในกรณีเจ็บป่วยด้วย
ดูรายชื่อบริษัทประกันในประเทศไทยที่สามารถให้บริการประกันแก่ท่าน
หรือท่านจะทำประกันดังกล่าวกับบริษัทประกันในประเทศเยอรมนีก็ได้เช่นกัน
บริษัทประกันในประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับของสถานทูต [pdf, 548.3k] หมายเหตุ เพื่อ ไม่ให้เกิดปัญหาในกรณีที่ท่านเปลี่ยนการเดินทางกะทันหัน ทางสถานทูตขอแนะนำให้ท่านยื่นประกันการเดินทางที่มีระยะเวลานานกว่ากำหนดการ เดินทางจริงของท่าน เพื่อที่ทางสถานทูตจะสามารถออกวีซ่าให้ท่านเพิ่มได้อีกถึง 15 วันจากแผนการเดินทางเดิม
- สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง ต้องยื่นเอกสารประกอบดังนี้ :
- หนังสือรับรองการทำงานล่าสุดจากนายจ้างที่ระบุตำแหน่ง จำนวนปีการทำงาน และเงินเดือน
- สมุดบัญชีเงินฝากของท่านที่แสดงการเคลื่อนไหวทางการเงินย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- บัญชีเงินฝากของบริษัท/หนังสือรับรองการเงินของบริษัทจากธนาคาร
- สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ต้องยื่นเอกสารประกอบดังนี้ :
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- หนังสือรับรองการเงินจากธนาคารย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย (ทั้งบัญชีของท่านและบัญชีของบริษัท)
- หนังสือที่หัวกระดาษมีโลโก้ของบริษัทและมีเนื้อหาระบุประเภทธุรกิจ จุดประสงค์และจุดหมายในการเดินทาง
- สำหรับผู้ได้รับเชิญจากบริษัทคู่ค้าในเยอรมนี หนังสือเชิญต้องระบุ:
- ชื่อ-นามสกุลของผู้ได้รับเชิญ
- จุดประสงค์ของการเดินทางและระยะเวลาพำนัก
- คำรับรองค่าใช้จ่ายและภาระผูกพันอย่างเป็นทางการตามมาตรา 66-68 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก (โดยต้องมีข้อความว่า: “บริษัท… ขอให้คำรับรองตามมาตรา 66-68 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนักว่า บริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางของคุณ...............รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่รัฐได้ออกให้ไปก่อน และเมื่อมีการส่งตัวบุคคลดังกล่าวกลับประเทศไทย” บริษัทผู้เชิญสามารถขอทำหนังสือรับรองดังกล่าวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเยอรมนีได้เช่นกัน
หนังสือรับรอง [pdf, 147.87k]
บางกรณี สถานทูตฯ อาจขอหลักฐานการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมากับบริษัทผู้เชิญหรือกับบริษัทอื่นๆ ด้วย (ใบเรียกเก็บเงิน จดหมายโต้ตอบ เอกสารส่งสินค้าหรือชิปปิ้ง ฯลฯ)
- สำหรับผู้เดินทางไปชมงานแสดงสินค้า:
- หลักฐานการจองโรงแรมและการเข้างาน (เช่น บัตรเข้างาน หรือ หนังสือเชิญสำหรับการเข้างาน เป็นต้น)
หากท่านหรือบริษัทของท่านเป็นผู้ออกงาน (exhibitor) ที่งานแสดงสินค้าในเยอรมนีและต้องการพำนักอยู่ในเยอรมนีไม่เกิน 15 วัน รวมทั้งสามารถแสดงบัตรรับรองการเป็นผู้ออกงานต่อสถานทูตฯ (ไม่ใช่บัตรเข้าชม) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า
- หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงถึงความพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศและแสดงถึงภาระผูกพันหรือความสัมพันธ์ของท่านในประเทศไทย
เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตรของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการทำงาน
และหนังสืออนุญาตให้ลาพักร้อน(ที่ระบุ ตำแหน่ง จำนวนปีการทำงาน
และเงินเดือนของท่าน) หนังสือ รับรองการจดทะเบียนบริษัท
หนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือสถาบันศึกษา
สมุดบัญชีแสดงการเคลื่อนไหวทางการเงินในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา โฉนดที่ดิน
สัญญาเช่าบ้าน
หมายเหตุ:
- เพื่อความรวดเร็วในการยื่นขอวีซ่า กรุณาจัดเรียงเอกสารของท่านตามลำดับดังต่อไปนี้
คำแนะนำในการจัดเรียงเอกสาร [pdf, 166.15k] - ท่านเดินทางบ่อยหรือไม่: หากในระยะเวลา24 เดือนที่ผ่านมา ท่านเคยได้รับการออกวีซ่าเชงเกน มาแล้ว 2 ครั้ง หรือเคยได้รับวีซ่าเชงเกนแบบอายุ 1 ปีหรือหลายปี และได้เดินทางไปยังประเทศในกลุ่มเชงเกนแล้ว 2 ครั้ง ท่านจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมายื่นคำร้องขอวีซ่าด้วยตนเอง โดยสามารถให้ผู้อื่นมายื่นคำร้องแทนได้ แต่ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ส่งคำร้องขอวีซ่าทางไปรษณีย์ โทรสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น