ชีวิตไกลบ้าน, เมียฝรั่ง ,เยอรมัน , ทีมชาติเยอรมัน ,ศูนย์ช่วยเหลือ, ชีวิตเมืองนอก, โรงเเรมราคาถูก,วีซ่าหมดอายุ ,ชีวิต,คนไทยในเยอรมัน,มาดามฝรั่ง ,ข้อคิดเตือนใจ ,นิสัยคนเยอรมัน ,ศูนย์ช่วยเหลือ,เยอรมันอากาศ,ตารางปิดเทอม,วีซ่า,บ้านเขาบ้านเราต่างอย่างไร
Breaking News
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563
เอกสารที่ใช้ในการสมัครงาน
หลักๆเอกสารที่ใช้ในการไปสมัครงาน เจ้าของบริษัทหรือคนที่จ้างงาน เขาจะเรียกเอาเอกสารเหล่านี้
1. เขียนใบสมัคร (Bewerbungsschreiben)
2 .ใบประสพการณ์การทำงาน หรือ ประวัติย่อ (lebenslauf)
3. ใบเกรด หรือ ประกาศนียบัตร(เเต่บางบริษัท หรือ บางเเห่งไม่ต้องมีก็ได้)
4. ใบรับรองอนุญาติให้ทำงานในประเทศเยอรมันได้
ขั้นตอนการเริ่มต้นทำธุรกิจนวดแผนไทยที่บ้าน และการเสียภาษี
ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจนวดที่บ้าน
1. จัดเตรียมตบแต่งห้องสำหรับที่จะใช้เป็นห้องทำงาน หรือห้องนวด
2. การเปิดร้านนวด ถือเป็นการทำธุรกิจส่วนตัวที่เรียกกันว่า
selbstständig เพราะเป็นเจ้าของเอง ซึ่งตามกฎหมายเยอรมัน
จะต้องขอจดทะเบียน จึงต้องติดต่อหน่วยงานราชการที่ ชื่อว่า Gewerbeamt
เข้าไปที่แผนก Gewerbeanmeldung เพื่อขอจดทะเบียนธุรกิจส่วนตัว
3. หากว่ามีการดัดแปลงห้อง
หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นห้องนวด โดยมีการโยกย้าย
หลายสิ่งหลายอย่าง นั่นคือมีการดัดแปลงแปลนบ้าน
จำเป็นต้องไปทำเรื่องขออนุมัติที่แผนก Nutzungsänderung เสียก่อน
ในการทำเรื่องขออนุมัติ ทางเจ้าหน้าที่จะสอบถามหลาย ๆ อย่าง เช่น
ธุรกิจที่จะทำก่อให้เกิดมลภาวะหรือไม่
ที่จอดรถและเรื่องห้องน้ำสำหรับลูกค้า ฯลฯ
จากนั้นจะให้เอกสารแบบฟอร์มมากรอก พร้อมกับขอเอกสารประกอบอื่น ๆ
ซึ่งจะมีระบุอยู่ในแบบฟอร์มนั้น
เมื่อกรอกเสร็จก็นำแบบฟอร์มพร้อมเอกสารต่าง ๆ ที่ทางแผนกนี้ ต้องการ
พร้อมแนบแปลนบ้านที่ดัดแปลงแก้ไขด้วย ยื่นขออนุมัติต่อ Nutzungsänderung
อีกครั้ง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งให้ทราบว่าได้รับการ
อนุมัติหรือไม่
4. เมื่อทาง Nutzungsänderung อนุมัติ ก็กลับเข้าไปติดต่อที่แผนก
Gewerbeanmeldung เพื่อขอจดทะเบียนการทำธุรกิจ
เจ้าหน้าที่จะถามว่าเป็นธุรกิจประเภทไหน ทำอะไรบ้าง การทำนวดแผนไทย
ก็บอกไปว่า Thai Massage อาจเสริมเรื่องเกี่ยวกับความงามและสุขภาพ
หากว่าในอนาคตจะมีการทำเล็บให้ลูกค้าเพิ่มเติม สำหรับการนวด
Fuss-reflexzonenmassage เจ้าหน้าที่ไม่ให้ใช้คำนี้ ให้ใช้แค่ “Fuss
massage”เท่านั้น
5. การจดทะเบียนจะเสียค่าธรรมเนียม 20 ยูโร จากนั้นทางราชการก็จะออกหนังสือแสดงการจดทะเบียนให้ เรียกว่า Gewerbeschein
6. หลังจากทำการจดทะเบียนประมาณ 1สัปดาห์
จะมีจดหมายมาจากทางราชการเรื่องการดัดแปลงแปลนบ้าน
ต้องเสียค่าอนุมัติไปอีก 50 ยูโร รวมแล้วกว่าจะจดทะเบียนธุรกิจนี้เสร็จ
เสียเงินไป 70 ยูโร
7. หากเกรงว่าอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในการทำงาน อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น
ลูกค้าเกิดบาดเจ็บ ก็อาจจะทำประกันป้องกันไว้ก่อนได้
ข้อมูลก็สามารถสอบถามได้จากสำนักงานประกันต่าง ๆ ดิฉันไม่ได้ทำประกันใด ๆ
และยังไม่เคยมีปัญหาใด ๆ
เมื่อจดทะเบียนเรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มรับลูกค้าได้เลย
หมายเหตุ หากว่าไม่มีการดัดแปลงใด ๆ เกี่ยวกับตัวบ้าน ก็ไม่ต้องดำเนินการข้อ 3 และ 6
การเสียภาษี
- โดยทั่วไปผู้ที่ขอจดทะเบียนทำธุรกิจส่วนตัว
มักจะได้รับการติดต่อจากสรรพากร (Finanzamt)
เพื่อขอตรวจสอบว่าจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ล่วงหน้าหรือไม่
แต่หากทางสรรพากรไม่ติดต่อมา
เราอาจจะไปแจ้งให้สรรพากรทราบว่ากำลังจะเปิดกิจการส่วนตัว
ทางสรรพากรก็จะมีแบบฟอร์มให้กรอก
สิ่งสำคัญที่ทางสรรพากรต้องการคือขอให้คำนวณ
หรือประมาณรายได้ที่จะได้ว่าประมาณเดือนละเท่าไร
- หากว่าเปิดทำธุรกิจในบ้าน ทำคนเดียว ไม่มีลูกจ้าง
และไม่ได้ทำเต็มเวลา อาจจะเป็น 10 ชม.ต่ออาทิตย์
เนื่องจากต้องดูแลลูกและครอบครัวไปพร้อม ๆ กัน
ก็อาจที่จะแจ้งว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก นั่นคือรายได้ต่อปีจะต้องน้อยกว่า
17,000 ยูโร ในการเรียกเก็บค่าบริการก็อาจเลือกได้ว่าจะเก็บ
“ภาษีมูลค่าเพิ่ม 19%” หรือไม่
เพราะหากเก็บก็จำเป็นต้องนำภาษีนี้ส่งทางสรรพากร
- รายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ เช่น
วัสดุอุปกรณ์ น้ำมันนวด ผ้าเช็ดตัว สบู่ ฯลฯ ในแต่ละปี
สามารถนำมาหักออกจากรายได้ หากเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าสูงราคาหลายร้อยยูโร
หรือเป็นพันยูโร อาจไม่สามารถเอามาหักภาษีทีเดียวภายในปีเดียวกันได้
ต้องทยอยยื่นขอหักสองหรือสามปี
- การยื่นแสดงรายการการเสียภาษี
โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เปิดกิจการส่วนตัวนั้น อาจจะยุ่งยาก
ดังนั้นอาจจะจ้างวานให้บริษัทที่รับทำภาษี ที่เรียกกันว่า Steuerberater
เป็นคนจัดการให้ ซึ่งสนนราคาก็แล้วแต่ว่าเขาต้องดำเนินการมากน้อยแค่ไหน
- เรื่องการประกันสุขภาพนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณมีรายได้เกิน
400 ยูโร ต่อเดือนหรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วหากมีรายได้เกิน 400 ยูโร
ต่อเดือนก็มักจะต้องทำประกันสุขภาพเอง ไม่สามารถใช้ร่วมกับสามีได้
ซึ่งเรื่องนี้ควรที่จะสอบถามหารือกับสำนักประกันสุขภาพที่คุณประกันอยู่
หากไม่ติดต่อเมื่อสำนักประกันทราบเรื่องอาจจะต้องเสียเบี้ยประกันย้อนหลัง
สกุลเงินของเยอรมัน
สกุลเงินที่ใช้ในประเทศเยอรมัน เเต่ก่อนเป็น สกุล D - Mark เเบ่งออกได้เเก่
เหรียญ 1, 2, 5, 10 เฟนนิก
1, 2, 5 มาร์ก
ธนบัตรที่ใช้ได้เเก่ 5, 10, 20, 50, 100, 200, 500, 1000
จนถึง พศ 2545 (คศ 2001) เเต่หลังจากประเทศเยอรมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป จึงได้เปลี่ยนสกุลเงินเป็นยูโร
ซึ่งเเบ่งเป็น
เหรียญ 1 2 5 10 20 50 Cent
ธนบัติเเบ่งเป็น 5 10 20 50 100 200 500
คำศัพท์เกี่ยวกับเงิน
Geld (เกลด์) เงิน
einkaufen (อัยเค้าเฟ้น) ซื้อของ หรือ ช็อปปิ้ง
ชีวิตไกลบ้าน-ข้อเตือนใจ
ขึ้นชื่อว่าชีวิตอยู่เมืองนอก ฟังดูเหมือนว่ามีชีวิตที่หรูหรา อยู่สบายมีเงินมากมายได้เข้าห้างซื้อของเเพงๆใช้ เข้าเเต่ร้านอาหาร มีบ้านมีห้องที่สวยใหญ่โต เวลากลับเมืองไทยไปเเต่ละทีมีเงินมากมายซื้อที่ซื้อบ้าน ซื้อสวน
ถ้าคุณคนหนึ่งที่คิดว่าชีวิตในต่างเเดนเป็นอย่างที่กล่าวมา ดิฉันขอยืนยันเลยว่า มันไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิดเเละหวัง
จากประสบการณ์ที่ได้พลัดพรากจากถิ่นที่อยู่มาอยู่ในเยอมัน8ปี ดิฉันขอเล่าชีวิต ความเป็นอยู่จากประสบการณ์ที่เจอเองเเละจากชีวิตคนไทยอีกหลายคนที่ได้เล่าสู่กันฟัง
1. อย่าไว้ใจคนไทยด้วยกัน เรื่องนี้ขอยืนยันเลยว่าเป็นจริงเลยค่ะ คนไทยที่นี่คบยากมาก เเถมเชื่อใจยากมาก บางทีที่เคยคบหากันมานานๆ นานเข้าก็เริ่ม อิืจฉากันเอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้คนอื่นฟัง ไปๆมาๆ สุดท้ายก็ทะเลาัะกัน
อย่าหวังว่า คุณที่จากประเทศไทยมาอยู่เมืองนอกเเล้ว เวลาตกทุกข์ได้ยากเเล้วหวังให้คนไทยด้วยกันคอยช่วยเหลือ บอกได้เลยว่า ที่บริสุทธิ์ใจช่วยจริงๆหายาก
2. ชาวเยอรมันตรงต่อเวลามากไม่ว่าคุณมีนัดกับใครไว้ ควรต้องไปตรงเวลาหรือเวลา 5 นาทีจะดีที่สุด เพราะชาวเยอรมันเขาเคารพเวลากันมาก ถ้าคุณมาช้าหรือเร็วเกินไปเขา เขาจะตำหนิคุณทันที เเต่ถ้าคุณมาไม่ได้ก็ควรที่จะโทรไปเลื้อนหรือยกเลิกนัดเหมือนกันนะค่ะอย่าลืมเด็ดขาด
3. ฝรั่งที่เที่ยวบ้านเราปีละหลายครั้งเเถมมาเเต่ละทีก็มีเงินเที่ยวเยอะๆ์๊ํ๋ซื้อของเเพงๆใช้สิ่งของเเพงๆเขาคงรวย อย่าเชื่อเร็วเด็ดขาดนะค่ะ อันนี้ไม่จริงเลย รู้มั๊ยว่า ฝรั่งพวกนี้ก่อนที่เจาไปเที่ยวบ้านเรานั้น เขาต้องทำงานหนักเเละเก็บเงินอย่างหนักมาก บางคนเขาทำงานพิเศษเพิ่มโบนัส เพื่อเก็บเงินไปเที่ยวในช่วงที่อากาศบ้านเขาหนาวจัด เรื่องนี้รู้ดีเพราำะสามีก็ทำเเบบนี้ เเล้วเวลาไปเที่ยวในฝรั่งเขาจะปลดปล่อยความอัดอั้นอย่างเต็มที่เวลาเที่ยวเเต่ละทีเขาุถึงได้กินเที่ยวอย่างสุดเหวิ่ยง ไม่เสียดายเงิน เเต่คนไทยเราคิดผิดคิดว่าเขาคงรวยเขาุุถึงได้มีเงินเหลือใช้ฝรั่งบางคน ยอมเเม้กระทั่งกู้เงินเพื่อไปเืที่ยว เเต่เวลากลับมาบ้านมีหนี้ท่วมต
5. ชาวเยอรมันดูุถูกชาวต่างชาติ โดยเํ๊์ิฉพาะชาวเอเชีย เรื่ิองนี้จริงเเต่ไม่ทุกคนนะค่ะ ชาวเยอรมันบางคนเขาเกลียดชาวต่างชาติมาก ไม่ว่าคุณไปหาหมอ หรือไปต่อเเถวซื้อของบางครั้งคุณต้องเจอประเภทพอถึงคิวคุณเเล้วเเต่เขาจะเรียกชาวประ้เทศเขาก่อน
หลังจากนั้นก็ให้คุณรอเเล้วรอเล่าพอถึงคิวคุณเขากลับบอกว่า หมดเวลาทำงานเป็นงั้นไป บางคนเล่าให้ฟังว่า ขณะที่ไปซื้อของชาวเยอรมันเขาจะดูุถูกเเละพูดกันห้วเหราะไส่ก็มี
ส่วนที่เจอเองจากประสบการณ์ ได้ไปเช่าห้องใหญ่ห้องหนึ่งซึ่งยายรักชาวต่างชาติมาก ซึ่งเเกเเก่เเล้วเวลาเช้าๆ เเกจะมาุถามเสมอความทุกข์ สุข บางทีก็เอาของมาฝาก เเต่ต่างกับหลานชายที่พักอยู่บ้านเดี่ยวกันกับเรา กลับกลั่นเกล้งต่างๆนาๆ วันที่คืนดีก็พาเเม่เขาเอาขยะเขามากองหน้าประตู บางครั้งก็เปิดวิทยุเสียงดังมากๆ วันดีคืนดีก็เคาัะประตูจนเรากลัวเวลาสามีไปทำงาน สุดท้ายตัดสินใจหาห้องใหม่มารู้ทีหลังว่า มีคนย้ายมาอยู่ 4 ครอบครัว รวมเรา ทุกครอบครัวเป็นชาวต่างชาติ โดนลูกชายเเละเเม่เขาไล่ออกหมด
6. ไม่มีภาษาเยอรมันเป็นพื้็นฐานรู้เเต่ภาษาอังกฎษมาใช้ในเยอรมันได้มัํย ภาษาอังกฎษช่วยคุณได้ไม่เยอะเลยขอบอก เพราำะชาวเยอรมันเขาจะพูดเเต่ภาษาเขาไม่ว่าคุณจะเดินหลงทาง ขอความช่วยเหลือ ถ้าคุณพูดภาษาเยอรมันไม่ได้บ้าง เเทบไม่มีใครมาคอยช่วยเหลือคุณหรอก ไม่ไช่ว่าชาวเยอรมันบางคนเขาพูดอังกฎษไม่ได้ เเต่เขาไม่อยากพูดต่างหาก บางคนกล้วพูดผิด บางคนเขาไม่เข้าใจคุณ เวลาคุณพูดอังกฎษเขาจะกลายคิดว่าคุณไปเเกล้ง หรือดูุถูกเขาอีก
บ้านเขาบ้านเราต่างกันอย่างไร
อะไรที่เเตกต่างจากบ้านเรา มันก็มีหลายอย่างขอเเยกเล่าทีละอย่างหล่ะกัน จะได้เห็นภาพชัด
1.
ลักษณะบ้านช่อง หมู่บ้าน ตำบล หรือจังหวัด(เเคว้นต่างๆ)
ที่ต่างจากบ้านเราก็คือลักษณะบ้านช่อง จะออกเเบบคล้ายๆกันหมด คือ
เป็นบ้านปููน ตึก 2 ชั้น บ้าง 3 ชั้น ซึ่งเเต่ละหลังจะอยู่เเค่2
ครอบครัวบ้าง ครอบครัวเดียวมั่งถ้าเป็นบ้านส่วนตัว
เเต่มันก็มีที่เป็นตึกสูง พักอยู่หลายครอบครัว ส่วนมากจะอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ
ฝาบ้านจะออกสีน้ำตาลเข้ม ตัวบ้านเป็นสีขาว
เเค่บางพื้นที่ๆออกเเบบต่างกันนิดหน่อย เช่นตามชานเมืองติดชายเเดน
หรือบางบ้านที่มีพื้นที่อยู่ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลจากเขตความเจริญซึ่งยังคงหลงเหลือความหลังให้เราได้เห็นความเเตกต่าง
จากสมัยก่อนมั่ง(เคยเห็นในหนัง)
2. ธรรมชาติ ยังอุดมสมบูรณ์กว่าบ้านเราเยอะ
ไม่ว่ามองไปทางใหนก็เห็นเเต่ใบใม้ใบหญ้า ร่มรื่น
(ยกเว้นเเต่ในช่วงฤดูใบใม้ร่วง) ยิ่งในช่วงฤดูใบใม้ผลิ
เป็นช่วงที่สวยที่สุดน่าเที่ยวที่สุดไม่ว่ามองไปทางใหนก็เจอเเต่ดอกไม้หลายๆชนิดกำลังออกดอก
เเถมอากาศก็ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป
นอกจากนั้นในเขตนอกเมืองยังมีสัตว์ป่าเดินเพ่นพ่านมากมาย โดยเฉพาะ กวาง
เก้ง กระต่ายป่า มีให้เห็นเยอะมาก บางตัวเผลอเข้ามาไกล้เขตหมู่บ้านก็ยังมี
เเต่ก็ต้องระวังหน่อยเวลาจะออกไปเดินเล่นตามป่า
ตามดงเพราะยังมีพวกหมูป่าอยู่เยอะมาก(ซึ่งอันตรายมาก
เพราะถ้าเจอคนมันจะวิ่งมาชนเลยเเหล่ะ ยังไงก็ระวังไว้บ้างก็ดี)
นอกจากนั้นก็ยังมีหมาป่า กระรอก ฯลฯ
ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพ ในเยอรมันมีกฎษหมายบังคับให้ทุกคนต้องมีประกันสุขภาพ เเบ่งประเภทออก 2 ประเุภทคือ
-ประกันเเบบส่วนบุคคล (Privatkrankenkasse) ค่าใช้จ่ายเเพงมาก
-ประกันสุขภาพตามกฎหมายของรัํฐบาล(Fesetuliche krankenkasse) ตัวอย่าง บัตรประกันสุขภาพที่ใช้ในประเทศเยอรมัน
วัดไทย ในเยอรมัน
บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก · Baden-Württemberg
Raiffeisenstr. 58
74182 Obersulm-Willsbach
Tel.: 0713-45165651, 0713-45165652
Fax: 0713-4516-5650
Wat Buddhanantaram วัดพุทธนันทาราม
Hebelstr. 3
74889 Sinsheim
Tel.: 07261-62016
Handy: 0176-2456121
Wat Phra Dhammakaya Schwarzwald วัดพระธรรมกายชวาร์ซวัลด์
Wilhelm-Franz Str. 1
77971 Kippenheim
Tel.: 078-2520-9864, 078-2520-9865
Wat Sanghavihara วัดสังฆวิหาร
Lerchenstr. 79
70176 Stuttgart
Tel.: 0711-31963999, 0711-60707333
Handy: 0171-4995236
Wat Santiwararam วัดสันติวราราม
Dr.-Zeiler-Platz 3
89362 Offingen
Tel.: 08224-8045888, 08224-8045889
E-Mail: Phraholli@gmail.com
Meditationszentrum Bodensee Thailändisches Kultur Zentrum-Bodensee e.V.
ศูนย์ปฏิบัติธรรม (วิปัสสนากรรมฐาน) พระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงคโล)
Lindauerstr.76
88085 Langenargen
Tel.: 0754-393-9777
Fax: 0754-393-9778
E-Mail: info@thaizentrum-bodensee.de
Buddhistischer Tempel Nürnberger LAND e.V.
วัดไทยนึร์นแบร์ก
Gebet- und Begegnungsstätte Nürnberg-Süd
Lenzstr. 5
90408 Nürnberg
Tel.: 0911-431 87 87
Wat Buddhadhamma München
วัดพุทธธรรม (ศูนย์ปฏิบัติธรรม) นครมิวนิค
Keferloherstr. 99
80807 München
Tel.: 089-600 862 87-8
Fax: 089-600 862 89
Wat Buddhadhamma Freilassing
วัดพุทธธรรม (ศูนย์ปฏิบัติธรรม) เมืองไฟร์ลัสซิงก์
Am Hang 18
83395 Freilassing
Tel.: 089-600 862 87-8
Fax: 089-600 862 89
Wat Praraschaprommajan (Thasung)
วัดพระราชพรหมยาน (ท่าซุง)
Max-Planck-Str.23
93158 Katzdorf
Tel.: 09471-6057043
Handy: 0176-96272006
Wat Thai Munich
วัดไทยมิวนิค
Bad-Dürkheimer Str. 14
81539 München-Giesing
Tel.: 089-812 46 41
Fax: 089-68 01 92 28
Wat Thepwongsaram
(Thailändischer Kulturverein Wat Thepwongsaram Nürnberg Germany e.V.) วัดเทพวงศาราม เมืองนึร์นแบร์ก
Rothenburger Str. 39
90443 Nürnberg
Tel.: 0911-801 61 41, 0176-516 366 92
Wat Buddhararam-Verein Berlin e.V.
วัดพุทธาราม เบอร์ลิน
Schönagelstr. 24
12685 Berlin
Fax: 030-93 33 072
Wat Buddhavihara
วัดพุทธวิหาร
Steinkirchener Str. 17
13435 Berlin-Wittenau
Tel.: 030-41 69 844
Fax: 030-41 69 846
Wat Pah Bodhi-Dhamm
วัดป่าโพธิธรรม
Breitehornweg 1A
14089 Berlin
Tel.: 0176-62610958
Wat Phra Dhammakaya Berlin
วัดพระธรรมกายเบอร์ลิน
Schonefelder Str. 12
12355 Berlin
Tel.: 030-6606-8803
Fax: 030-3252-7018
Wat Buddhabarami
วัดพุทธบารมี
Beidenfletweg 24
22149 Hamburg
Fax: 040-67 59 06 57
Wat Buddha Hamburg
วัดพุทธฮัมบวร์ก
Wilhelm Str. 34
22640 Hamburg
Fax: 041-6382-6924
Wat Buddhapiyawararam Thailändische Buddhisten e.V.
วัดพุทธปิยะวราราม
Dietzenbacher Str. 6
63303 Dreieich-Gotzenhain
Tel.: 06103-833 253
Fax: 06103-831 958
E-Mail: buddhapiya@msn.com
Wat Bodhi Dhamm Buddhistischer Verein e.V.
สำนักสงฆ์โพธิธรรม
Melchior Str. 9,
65929 Frankfurt/M-Höchst
Tel.: 069-300 66 768-9
Fax: 069-300 66 970
E-mail: watbodhidhamm@yahoo.com
Wat Pah Purittattaram Buddhistische Gemeinschaft Giessen e.V.
วัดป่าภูริทัตตาราม
Sandfeld 12
35396 Giessen
Tel.: 0641-877 30 00
E-mail: phrapattiyo@aol.com
Wat Buddhamonkkolvararam
วัดพุทธมงคลวราราม (สมาคมวัดไทยเยอรมัน)
Oberwaldstr.3
63538 Grosskrotzenburg
Tel.: 06186-914 890
Wat Pa Asiyano
วัดป่าอสิญาโณ
Steubenstr. 1a
34121 Kassel
Wat Puttabenjapon
วัดพุทธเบญจพล
Felgenstr. 36
63505 Langenselbold
Tel.: 06184-36 15
Fax: 06184-901 095
Wat Phra Dhammakaya Frankfurt
วัดพระธรรมกายแฟรงก์เฟิร์ต
Odenwaldstr. 22
65479 Raunheim
Tel.: 06142-833 08 88
Fax: 06142-833 08 90
Wat Dhammavihara
วัดธรรมวิหาร
Am Ahlemer Turm 3
30453 Hannover
Tel.: 0511-768 57 46
Wat Buddhametta Warburg
วัด พุทธเมตตา
Bahnhofstr. 41
34414 Warburg
Tel.: 05641-7432666
Handy: 0151-15642196
Wat Buddha Nordrhein-Westfalen
วัดพุทธนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน
Roemer Str. 586
47443 Moers
Tel.: 0284-1881-3581
Fax: 0284-18813457
Wat Thai Buddha Apa e.V
วัดพุทธอาภา
Maudacherstr. 70
67065 Ludwigshafen
Tel.: 0621-58 79 450
Fax: 0621-58 79 451
Handy: 0170-439 05 57
E-Mail: phra_apakaro@hotmail.de
หอยทากขยะเเขยง
ทำใมถึงว่าหอยทากมันขยะเเขยง จริงๆเเล้วไม่ใช่ว่าหอยทากบ้านเราจะไม่มี เเต่ที่เจอๆมันมีเเต่ตัวเล็กหรือนานๆทีที่มีบ้างที่จะเจอตัวใหญ่หน่อย เเละ ตัวจะออกเป็นสีขาวบ้าง สีน้ำตาลบ้าง เเละหลังของหอยทากก็จะมีเปลือกหอยติดมาด้วย มองไปมันก็น่ารักไปอีกเเบบ เเต่ที่นี่มันน่าเกลียดมาก ๆ จริงๆเเล้วตัวเองก็ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะมากลัวเเค่หอยทาก พอเจอเข้าถึงกับขนลุกเลย เพราะเวลามันออกมาเนี๊ยะ ไม่มีหรอกเเค่ตัวเดียว มันจะออกมาเป็นฝูง ประเภทที่ว่าเต็มถนน เลยเเหล่ะ เเละตัวทากที่นี่ตัวมันจะตัวใหญ่มากๆ ตัวดำๆ หรือบางตัวออกสีน้ำตาล เเถมอ้วนๆ เเละเจ้าตัวหอยทากที่นี่ไม่มีหรอกเปลือกหอยติดตัวมาด้วย ถ้ามองเเบบเผินๆก็เหมือนปลิงดีๆนี่เอง(คิดไปเอง) ยิ่งช่วงหน้าร้อนถึงฤดูใบใม้ร่วงเวลาอากาศฟ้าครึ้มๆหรือ ฝนตกพร่ำๆเนี๊ยะ ออกมาเเบบต้องขับจักรยานหลบเลยเเหล่ะ เพราะมันเยอะมากๆ บางตัวก็โดนรถเหยียบ เเละเมือกมันก็เลอะเต็มถนนบ้าง เเต่นี่เป็นเเค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะค่ะ
ป่าไม้-ธรรมชาติ
เรื่่องธรรมชาติที่นี่มีธรรมชาติป่าไม้เยอะมากเขาจะถือว่าเป็นการอนุรักษ์ เพราะฉนั้นเวลาไปเดินเล่นตามป่าเเละคิดจะไปตัดไม่สักต้น หรือหักไม้สักกิ่ง ไม่ได้นะครับ ถ้ามีคนเห็นละก้อตำรวจทันทีเลย ละครับเพราะเขาจะสงวนมากไม่เเปลกเลย ไม่ว่าคุณจะมองไปทางใหน ก็เห็นเเต่ป่าไม้ ส่วนมากป่าบ้านเขาจะเป็นต้นสน ซะมากนอกนั้นก็จะมีต้นเเอ๊ปเปิ้ล
ต้นเชอร์รี่ มีเยอะเรียกไม่ถูกเอาภาพให้ดูเเหล่ะกัน
รเเละประเทศเขายังมีสัตว์เยอะมาก เช่นหมูป่า กระต่ายป่า เเมวป่า กวาง เก้ง เหยี่ยว ยังจำได้ครั้งหนึ่งผมออกไปเดินเล่นรอบหมู่บ้าน อยู่ๆเก้งตัวใหญ่มาก กระโดดตัดหน้าผมนี่ตกใจนึกในใจ
มันโผล่มาจากใหนว่ะนี่ขนาดติดหมู่บ้านยังเพ่นพล่านขนาดนี้เเต่สัตว์ห้ามทำร้ายเด็ดขาดนะครับไม่งั้นผิดกฎบ้านเขานะครับ
คือกระต่ายป่า บางบ้านเจอในสนามหน้าบ้านก็มี เเต่สัตว์ที่น่าเกลียดที่สุดคือ หอยทาก ที่บอกว่ามันน่าเกลียดคือมันไม่ได้มาตัวเดียว เเต่มันจะเต็มถนนเต็มป่าไปหมดเห็นทีไรสยองทุกที
ถ้าคิดจะมาเที่ยวเยอรมันต้องมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงสวยงามมากไม่ว่าจะมองไปทางใหนก็จะเห็นเเต่ความสดชื่นของต้นไม้ใบหญ้าเเละมีดอกไม้
หลากหลายสีขึ้นเต็มไปหมด เเต่อากาศอาจยังเย็นบ้างนิดหน่อย
อากาศที่เเปรปรวนมากๆ ทนได้มั๊ย
การขอวีซ่า-เพื่อการติดต่อธุรกิจ (วีซ่าเชงเก้น)
ในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ท่านต้องแสดงเอกสาร/หลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ โปรดตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางของท่าน
- มีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า
- เป็นหนังสือเดินทางที่ออกนานไม่เกิน 10 ปี
- ยังมีอายุใช้งานอีกอย่างน้อย 3 เดือน นับจากวันเดินทางออกนอกประเทศสมาชิกเชงเกน
- รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
ตัวอย่างรูปถ่าย [pdf, 170.23k] - แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกนที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกน
- ลงนามรับทราบข้อกำหนดตามกฎหมายการพำนักในเยอรมนีมาตรา 54 ข้อ 6 และมาตรา 55
ข้อกฎหมายที่ต้องทราบในการยื่นวีซ่าตามมาตรา 54 ข้อ 6 และ 55 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก [pdf, 5.46k] - หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ระหว่างการเดินทางตลอดระยะเวลาที่ขอพำนัก วงเงินความคุ้มครองไม่ตํ่ากว่า30,000.—เหรียญยูโร
และ ต้องรวมบริการนำตัวกลับประเทศในกรณีเจ็บป่วยด้วย
ดูรายชื่อบริษัทประกันในประเทศไทยที่สามารถให้บริการประกันแก่ท่าน
หรือท่านจะทำประกันดังกล่าวกับบริษัทประกันในประเทศเยอรมนีก็ได้เช่นกัน
บริษัทประกันในประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับของสถานทูต [pdf, 548.3k] หมายเหตุ เพื่อ ไม่ให้เกิดปัญหาในกรณีที่ท่านเปลี่ยนการเดินทางกะทันหัน ทางสถานทูตขอแนะนำให้ท่านยื่นประกันการเดินทางที่มีระยะเวลานานกว่ากำหนดการ เดินทางจริงของท่าน เพื่อที่ทางสถานทูตจะสามารถออกวีซ่าให้ท่านเพิ่มได้อีกถึง 15 วันจากแผนการเดินทางเดิม
- สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง ต้องยื่นเอกสารประกอบดังนี้ :
- หนังสือรับรองการทำงานล่าสุดจากนายจ้างที่ระบุตำแหน่ง จำนวนปีการทำงาน และเงินเดือน
- สมุดบัญชีเงินฝากของท่านที่แสดงการเคลื่อนไหวทางการเงินย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- บัญชีเงินฝากของบริษัท/หนังสือรับรองการเงินของบริษัทจากธนาคาร
- สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ต้องยื่นเอกสารประกอบดังนี้ :
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- หนังสือรับรองการเงินจากธนาคารย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย (ทั้งบัญชีของท่านและบัญชีของบริษัท)
- หนังสือที่หัวกระดาษมีโลโก้ของบริษัทและมีเนื้อหาระบุประเภทธุรกิจ จุดประสงค์และจุดหมายในการเดินทาง
- สำหรับผู้ได้รับเชิญจากบริษัทคู่ค้าในเยอรมนี หนังสือเชิญต้องระบุ:
- ชื่อ-นามสกุลของผู้ได้รับเชิญ
- จุดประสงค์ของการเดินทางและระยะเวลาพำนัก
- คำรับรองค่าใช้จ่ายและภาระผูกพันอย่างเป็นทางการตามมาตรา 66-68 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก (โดยต้องมีข้อความว่า: “บริษัท… ขอให้คำรับรองตามมาตรา 66-68 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนักว่า บริษัทจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางของคุณ...............รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่รัฐได้ออกให้ไปก่อน และเมื่อมีการส่งตัวบุคคลดังกล่าวกลับประเทศไทย” บริษัทผู้เชิญสามารถขอทำหนังสือรับรองดังกล่าวกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเยอรมนีได้เช่นกัน
หนังสือรับรอง [pdf, 147.87k]
บางกรณี สถานทูตฯ อาจขอหลักฐานการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมากับบริษัทผู้เชิญหรือกับบริษัทอื่นๆ ด้วย (ใบเรียกเก็บเงิน จดหมายโต้ตอบ เอกสารส่งสินค้าหรือชิปปิ้ง ฯลฯ)
- สำหรับผู้เดินทางไปชมงานแสดงสินค้า:
- หลักฐานการจองโรงแรมและการเข้างาน (เช่น บัตรเข้างาน หรือ หนังสือเชิญสำหรับการเข้างาน เป็นต้น)
หากท่านหรือบริษัทของท่านเป็นผู้ออกงาน (exhibitor) ที่งานแสดงสินค้าในเยอรมนีและต้องการพำนักอยู่ในเยอรมนีไม่เกิน 15 วัน รวมทั้งสามารถแสดงบัตรรับรองการเป็นผู้ออกงานต่อสถานทูตฯ (ไม่ใช่บัตรเข้าชม) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า
- หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงถึงความพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศและแสดงถึงภาระผูกพันหรือความสัมพันธ์ของท่านในประเทศไทย
เช่น ใบสำคัญการสมรส สูติบัตรของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการทำงาน
และหนังสืออนุญาตให้ลาพักร้อน(ที่ระบุ ตำแหน่ง จำนวนปีการทำงาน
และเงินเดือนของท่าน) หนังสือ รับรองการจดทะเบียนบริษัท
หนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือสถาบันศึกษา
สมุดบัญชีแสดงการเคลื่อนไหวทางการเงินในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา โฉนดที่ดิน
สัญญาเช่าบ้าน
หมายเหตุ:
- เพื่อความรวดเร็วในการยื่นขอวีซ่า กรุณาจัดเรียงเอกสารของท่านตามลำดับดังต่อไปนี้
คำแนะนำในการจัดเรียงเอกสาร [pdf, 166.15k] - ท่านเดินทางบ่อยหรือไม่: หากในระยะเวลา24 เดือนที่ผ่านมา ท่านเคยได้รับการออกวีซ่าเชงเกน มาแล้ว 2 ครั้ง หรือเคยได้รับวีซ่าเชงเกนแบบอายุ 1 ปีหรือหลายปี และได้เดินทางไปยังประเทศในกลุ่มเชงเกนแล้ว 2 ครั้ง ท่านจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องมายื่นคำร้องขอวีซ่าด้วยตนเอง โดยสามารถให้ผู้อื่นมายื่นคำร้องแทนได้ แต่ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้ส่งคำร้องขอวีซ่าทางไปรษณีย์ โทรสาร
การขอวีซ่า-เพื่อการท่องเที่ยว (วีซ่าเชงเก่น)
การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยวต่อสถานทูตเยอรมนีประจำกรุงเทพฯ จะกระทำได้ เมื่อท่านประสงค์ที่จะเดินทางไปพำนักในประเทศเยอรมนีเท่านั้น หรือเดินทางเข้าไปพำนักในประเทศสมาชิกเชงเกนประเทศอื่นๆ ด้วย แต่มีระยะเวลาพำนักในประเทศเยอรมนีนานกว่าประเทศอื่นๆ หรือกรณีที่มีระยะเวลาพำนักในแต่ละประเทศนานเท่ากัน ประเทศเยอรมนีต้องเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศสมาชิกที่ท่านจะเดินทางเข้าไป
ในการยื่นคำร้องขอวีซ่า ท่านต้องแสดงเอกสาร/หลักฐานดังต่อไปนี้
- หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้
โปรดตรวจสอบว่าหนังสือเดินทางของท่าน
- มีหน้าว่างอย่างน้อย 2 หน้า
- เป็นเล่มที่ออกมานานไม่เกิน 10 ปี
- ยังมีอายุใช้ได้อย่างน้อยอีก 3 เดือนนับจากวันเดินทางออกนอกประเทศสมาชิกเชงเกน
- บางกรณี ต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าที่ท่านเคยมีมาแล้วด้วย
- รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ
ตัวอย่างรูปถ่าย [pdf, 170.23k] - แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกนที่กรอกข้อความครบถ้วน 1 ฉบับ
แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าเชงเกน - ลงนามรับทราบข้อกำหนดตามกฎหมายการพำนักมาตรา 54 ข้อ 6 และมาตรา 55
ข้อกฎหมายที่ต้องทราบในการยื่นวีซ่าตามมาตรา 54 ข้อ 6 และ 55 ของกฎหมายว่าด้วยการพำนัก [pdf, 5.46k]
- หลักฐานยืนยันการจองที่พัก/เที่ยวบินและอื่นๆ จากบริษัทนำเที่ยวและโรงแรม ตลอดระยะเวลาที่ขอพำนัก
- หลักฐานการประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ ระหว่างการเดินทางตลอดระยะเวลาที่ขอพำนัก วงเงินความคุ้มครองไม่ตํ่ากว่า 30,000.- เหรียญยูโร
และต้องรวมบริการนำตัวกลับประเทศในกรณีเจ็บป่วยด้วย ดู
รายชื่อบริษัทประกันในประเทศไทยที่สามารถให้บริการประกันแก่ท่าน
หรือท่านจะทำประกัน ดังกล่าวกับบริษัทประกันในประเทศเยอรมนีก็ได้เช่นกัน
บริษัทประกันในประเทศไทยที่เป็นที่ยอมรับของสถานทูต [pdf, 548.3k]
- สำหรับพนักงาน/ลูกจ้าง: หนังสือรับรองการทำงานปัจจุบันและหนังสืออนุญาตให้ลาพักร้อน (ที่ระบุตำแหน่ง จำนวนปีการทำงานและเงินเดือน)
- หลักฐานการเงินสำหรับการเดินทางและการพำนัก (ได้แก่ หนังสือรับรองจากธนาคาร และสมุดบัญชีเงินฝากที่แสดงการเคลื่อนไหวทางด้านการเงินย้อนหลัง 3 เดือนสุดท้าย)
- หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงถึงความพร้อมที่จะเดินทางกลับประเทศและแสดงถึงภาระผูกพันหรือ ความสัมพันธ์ของท่านในประเทศไทย เช่น: ใบสำคัญการสมรส สูติบัตรของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติ ภาวะสำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองการทำงาน และหนังสืออนุญาตให้ลาพักร้อน (ที่ระบุ ตำแหน่ง จำนวนปี การทำงานและเงินเดือน) หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (กรณีประกอบ อาชีพอิสระหรือเป็นเจ้าของธุรกิจ) หนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือสถาบันศึกษา สมุดบัญชีแสดงการ เคลื่อนไหวบัญชีในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา โฉนดที่ดิน สัญญาเช่าบ้าน
- สำหรับผู้เดินทางสัญชาติไทยที่อายุต่ำกว่า18 ปี ผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย (โดยปกติคือบิดา-มารดา) ต้องมาปรากฎตัวพร้อมกันในวันยื่นคำร้อง และเซ็นชื่อในคำร้องหากผู้มีอำนาจปกครองหรือ บิดา-มารดา ไม่สามารถมาได้ ผู้เดินทางสามารถยื่นคำร้องที่ผู้มีอำนาจปกครองเซ็นชื่อไว้แล้ว พร้อม หนังสือยินยอม โดยลายเซ็นของผู้ปกครองหรือบิดา-มารดา ในหนังสือยินยอมนั้น จะต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานเขตหรืออำเภอที่สังกัด กรณีบิดา-มารดาพำนักอยู่ในเยอรมนีต้องมีการรับรอง ลายเซ็นจากหน่วยราชการของเยอรมนี กรณีบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียวทำหนังสือยินยอมต้อง แสดงหลักฐานว่าบิดาหรือมารดาผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวจริง
ข้อแนะนำสำคัญในการจัดเรียงเอกสารคำร้องขอยื่นวีซ่า:
คำแนะนำในการจัดเรียงเอกสาร [pdf, 166.15k]
กฎหมายแรงงานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ไม่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่
มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายทั่วไป
แต่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในบางสาขาอาชีพเท่านั้น
ซึ่งจัดทำขึ้นตามการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างในระดับ
รายบุคคลหรือการต่อรองร่วมกันระหว่างกลุ่มนายจ้างกับสหภาพแรงงาน
(Collective Bargaining)
สาขาอาชีพที่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2551)
- งานก่อสร้าง 8.50 – 12.50 ยูโร ต่อชั่วโมง
- งานซ่อมหลังคา 10.20 ยูโร ต่อชั่วโมง
- งานทาสีและขัดสี 7.15 - 10.73 ยูโร ต่อชั่วโมง
- งานทำความสะอาดตึก 6.36 – 7.87 ยูโร ต่อชั่วโมง
- งานช่างไฟฟ้า
- ในภาคตะวันออก 7.90 ยูโร ต่อชั่วโมง
- ในภาคตะวันตก 9.40 ยูโร ต่อชั่วโมง
- งานไปรษณีย์ 8 – 9.80 ยูโร ต่อชั่วโมง
บาง พื้นที่ในบางรัฐ
อาจมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นในบางสาขาอาชีพ
แต่ไม่ได้บัญญัติเป็นกฎหมาย อาทิ งานช่างทำผมในรัฐบาวาเรีย
หรืองานพนักงานผู้รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ในฮัมบวร์ก
แต่อย่างไรก็ ดี ก็ได้มีการกำหนดมาตรการในการคุ้มครองดูแลลูกจ้างในเรื่องอื่น ๆ อาทิ สภาพและเงื่อนไขในการทำงาน ตลอดจนการตรวจสอบค่าจ้างที่อาจจะต่ำเกินไป ในกรณีที่พบว่าจ่ายค่าจ้างน้อยกว่า 1 ใน 3 ของงานลักษณะเดียวกันในพื้นที่นั้น ๆ
ยื่นคำร้องขอวีซ่าที่ไหน
สำหรับท่านที่ อยู่ อาศัย ทำงานหรือศึกษาในประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าเข้าเยอรมนีได้ที่สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ หรือที่สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ในภูเก็ตและเชียงใหม่ หากท่านต้องการเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่อยู่ในสังกัดกลุ่มประเทศเชงเกนด้วย ท่านจะยื่นคำร้องต่อสถานทูตเยอรมนีได้เฉพาะในกรณีที่เยอรมนีเป็นจุดหมายปลายทางเดียวหรือจุดหมายหลักในการเดินทางของท่าน
ข้อมูลสำคัญในการขอวีซ่าผ่านกงสุลเยอรมันศูนย์อำนวยการช่วยเหลือในเยอรมัน
ชีวิตเมืองนอก ไม่ได้จะดีเเละเป็นคุณนายไปตลอด ถึงคราวที่ตกทุกข์ได้ยากเเม้เเต่คนในครอบครัว หรือ เเม้เเต่เพื่อนๆก็ช่วยเราไม่ได้ มีอย่างเดียวเท่านั้นที่เราสามารถทำได้คือ ช่วยตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เเต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราหาทางออกไม่ได้ เราสามารถขอความช่วยเหลือ หรือขอคำเเนะนำจากองค์กรณ์เหล่านี่้ได้
ถ้าให้ดีจดเบอร์ไว้ในโทรศัพท์เลยก็ดี เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินจะได้ติดต่อได้ ทุกกรณี
ชื่อหน่วยงานและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ที่ให้ความช่วยเหลือคนไทยในเยอรมัน
- สมาคมบ้านสันติสุข
Haus SANTISUK e.V.
Roemerstrasse 13
76879 Hochstadt
Tel. (06347) 92001, 919421 Fax (006347) 92003
บ้านพักฉุกเฉินสำหรับหญิงไทยและบุตร
ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัวไทย-เยอรมัน ก่อตั้งโดยกลุ่มคริสเตียนอาสาสมัคร จากหลายๆ ประเทศ
- สมาคมธารา
THARA e.V.
c/o Frau Pataya Ruenkaew
Julius-Leber Str. 3
33615 Bielefeld
Tel./Fax (0521) 891038
ธารา ก่อตั้งขึ้นเพื่อประสาน และรักษาผลประโยชน์ของหญิงไทยที่อาศัยอยู่ในสหพันธ์ฯ
รวมทั้งเป็นตัวแทน ในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ อันถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย คนไทย วัฒนธรรมไทย
และสภาพปัญหาของหญิงไทย ที่อาศัยอยู่ในสหพันธ์ฯ ให้แก่สังคมเยอรมัน
ทั้งนี้เพื่อช่วยกัน แสวงหาแนวทางที่สังคมเยอรมันจะปฏิบัติต่อหญิงไทย ในฐานะมนุษย์
ที่มีศักดิ์ศรีและคุณค่า เท่าเทียมกับชาวเยอรมัน
- สมาคมไทยช่วยไทย
Thai schuai Thai e.V.,
c/o Selbsthilfezentrum
Bayerstr. 77a Rgb.
80335 Muenchen
Tel. (0179) 414 59 54 ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี
Tel. (089) 532 956 13 ทุกวันพฤหัสบดี
E-Mail: thai-schuai-thai@web.de
Website: www.thai-schuai-thai.de
- แอมเนสตี้ ฟอร์ วูแมน
Amnesty for Woman
Grosse Bergstr. 231
22767 Hamburg
Tel. (040) 384753 Fax (040) 385758
E-Mail: Amnesty4Woman@t-online.de
กลุ่มอาสาสมัครจากหลายๆ ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหญิงต่างชาติ
ที่ได้รับความเดือนร้อน จากการถูกหลอกลวงให้เข้ามาค้าประเวณี ในประเทศเยอรมัน
มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการค้าหญิง
- FiM - Frauenrecht ist Menschenrecht e.V.
FiM - Frauenrecht ist Menschenrecht e.V.
Varrentrapp Str. 55
60486 Frankfurt/M
Tel. (069) 7075430 -/50 Fax (069) 7075466
E-Mail: FiMinfo@web.de
ศูนย์ให้คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือแก่หญิงไทย ในเยอรมนีที่ประสบความเดือดร้อน
เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา การปรับตัว และปัญหาฉุกเฉินต่างๆ
สัมภาษณ์วีซ่าเยอรมัน คำถามเป็นภาษาอะไร
วีซ่าท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่คนไทย ถามภาษาไทย
ส่วนวีซ่าระยะยาว มีทั้งภาษาอังกฤษ เยอรมัน ไทย
สัมภาษณ์วีซ่าที่ถามเรามีอะไรบ้าง
คำถามหลักๆ
ไปทำอะไร
ไปกับใคร
ไปที่ไหนบ้าง
ไปกี่วัน
ใครวางแผนการท่องเที่ยว
ทำงานที่ไหน
ทำอะไร
ทำงานมากี่ปี
การจดทะเบียน สมรสกับบุคคลสัญชาติเยอรมัน ในประเทศใทย
เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพโสด หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าเป็นบุคคลที่ไม่เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้ใด เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหม้าย หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือใบสำคัญการสมรส มรณบัตรของคู่สมรส เอกสารเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีสถานภาพหย่า หนังสือรับรองสถานภาพที่ระบุว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้วยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิมมรณบัตรของคู่สมรส ใบสำคัญการหย่า (คร. 7) คำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (เฉพาะผู้ร้องที่หย่าตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น)
- ในบางกรณี อาจต้องแสดงหนังสือรับรองการหย่าจากหน่วยงานยุติธรรมในประเทศเยอรมนี
ว่าการหย่าของไทยเป็นที่ยอมรับของเยอรมันแล้วเช่นกัน
โดยเฉพาะผู้ที่หย่าโดยความสมัครใจ ณ สำนักทะเบียนเขตหรืออำเภอในประเทศไทย
แบบฟอร์มคำร้องขอให้รับรองการหย่า ขอได้ที่สถานทูตฯ สำนักทะเบียนเยอรมัน
หรือจากwww.berlin.de/sen/justiz/struktur/a2_ausl_scheidg_hinw.html ข้อมูลเรื่องการรับรองการหย่านี้ ดูได้จากแผ่นคำแนะนำของสถานทูตฯ (เป็นภาษาเยอรมันเท่านั้น ไม่มีภาษาไทย)
* หมายเหตุ เอกสารที่ระบุไว้ในที่นี้ไม่อาจถือเป็นสิ้นสุดได้ ทั้งนี้เพราะนายทะเบียนเยอรมันมีสิทธิ์ที่จะเรียกเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก สถานทูตฯ จึงใคร่ขอแนะนำให้ผู้ร้องสอบถามจากนายทะเบียนเยอรมันโดยตรง เพื่อให้แน่ใจว่าเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน
** หมายเหตุ หนังสือรับรองสถานภาพออกโดยสำนักงานเขตหรืออำเภอที่ผู้ร้องแจ้งพำนัก และต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ
เอกสารของคู่สมรสสัญชาติไทย ติดต่อขอได้จากสำนักทะเบียนในสังกัด สถานทูตฯ ไม่มีหน้าที่ช่วยจัดหาเอกสารให้ ในการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบเอกสารพร้อมคำแปลภาษาเยอรมันด้วย และโดยปกติเอกสารต้นฉบับภาษาไทย จะต้องผ่านการรับรองความถูกต้อง (Legalisationsvermerk) หรือรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Echtheitsvermerk) จากสถานทูตก่อน ในการขอให้สถานทูตฯ รับรองเอกสารทั้ง 2 แบบนี้ ท่านไม่จำเป็นต้องแสดงคำแปลต่อทางสถานทูตฯ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องแสดงเอกสารต่อนายทะเบียนเยอรมัน ท่านจะต้องแนบคำแปลภาษาเยอรมันไปด้วยเสมอ อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์ช่วยเหลือในเยอรมันกรุงแฟรงก์เฟิร์ต
Address: Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
Tel.:(069) 69 86 82 10
Fax.: (069) 2549 4642 0
Email : thaitrade@depfrankfurt.de
นางสาวจตุพร วัฒนสุวรรณ รองกงสุลใหญ่ (ฝ่ายการพาณิชย์) นางสาวสุพัตรา แสวงศรี กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์)
ฝ่ายการลงทุน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Address: Bethmannstraße 58, 5.OG, 60311 Frankfurt am Main
Tel.: (069) 9291 230
Fax.: (069) 9291 232 0
Email : fra@boi.go.th
นางสาวบุษราคัม
ศรีรัตนา รองกงสุลใหญ่ (ฝ่ายการลงทุน) นางณัฎฐิณี เนตรอำไพ กงสุล
(ฝ่ายการลงทุน) ดร. มุกดา นอลล์ ผู้ช่วยดำเนินการ นายฉัตรชัย ขำดำ
พนักงานประสานงานทั่วไป
คำตรงกันข้าม
คำ อ่านว่า เเปลว่า dunkel ดุงเกิล มืด hell เเฮลล์ สว่าง
คำ อ่านว่า เเปลว่า einfach อายฟัก ง่าย schwierig ชเเวร์ริก ยาก
คำ อ่านว่า เเปลว่า richtig ริกชติก ถูก falsch ฟัลช์ ผิด
คำ อ่านว่า เเปลว่า gefährlich กะเเฟลิกช์ อันตราย gefährlos กะเเฟโลส์ ปลอดภัย
ภาษาเยอรมันเบื้องต้น-คำตรงกันข้าม
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
einfach |
อายฟัก | ง่าย |
schwierig | ชเเวร์ริก | ยาก |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
richtig |
ริกชติก | ถูก |
falsch | ฟัลช์ | ผิด |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
gefährlich |
กะเเฟลิกช์ | อันตราย |
gefährlos | กะเเฟโลส์ | ปลอดภัย |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
geschickt |
กะชิกช์ | เก่ง |
ungeschickt | อุนกะชิกช์ | งุ่มงาม |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
gewöhnlich |
เกโวล์นลิกช์ | ธรรมดา |
speziell | สเปเซียลล์ | พิเศษ |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
groß |
โกรส์ | ใหญ่ |
klein | คลายน์ | เล็ก |
คำ | อ่านว่า | เเปลว่า |
gut |
กู๊ท | ดี |
schlecht | ชเล็กช์ | เลว |
ตัวอักษร | การออกเสียง |
---|---|
Ä | แอะ, แอ |
Ö | เออ, เออะ |
Ü | อื, อึ |
ß | เอสเซ็ท |
ภาษาเยอรมันเบื้องต้น- Das Nomen
เรามารู้จักคำนาม (Das Nomen)
ในภาษาเยอรมันกันดูนะคะ
บางท่านอาจได้ยินมาบ้างแล้วว่าคำนามของภาษาเยอรมันนั้นมีเพศกันทุกตัว
(Ohh..Gott) ถูกต้องแล้วแล้วล่ะค่ะ คำนามในภาษาเยอรมันนั้น
จะมีเพศกันทุกตัว คำนามแบบชี้เฉพาะ (bestimmter Artikel)
เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้เป็นอันอับแรกค่ะ นั่นก็คือ der, die และ das
1. คำนามเพศชาย (maskulin) m-der
เช่น
der Vater (พ่อ), der Bruder (น้อง/พี่ชาย), der Onkel (ลุง), der Tag
(วัน), der Januar (เดือนมกราคม), der Februar (เดือนกุมภาพันธ์), der
Frühling (ฤดูใบไม้ผลิ), der Sommer (ฤดูร้อน) Der Morgen (ตอนเช้า), der
Abend (ตอนเย็น), der Osten (ทิศตะวันออก), der Süden (ทิศใต้), der Ton
(ดินเหนียว), der Sand (ทราย), Der Opel (รถโอเปิ้ล), der Kaffee (กาแฟ),
der Tee (ชา), der See (ทะเล), der Student (นักศึกษาชาย), der Schüler
(นักเรียนชาย), der Offizer (ข้าราชการชาย) ฯลฯ
2. คำนามเพศหญิง (feminin) f-die
เช่น die Mutter (แม่), die Schwester (น้อง/พี่สาว), die Tante (ป้า), die Tochter (ลูกสาว), die Schülerin (นักเรียนหญิง), die Gesundheit (สุขภาพ), die Universität (มหาวิทยาลัย), die Übung (แบบฝึกหัด), die Ärztin (แพทย์หญิง), die Thailänderin (หญิงไทย), die Lehrerin (ครูผู้หญิง), die Politik (การเมือง), die Kamera (กล้องถ่ายรูปฉ, die Grammatik (ไวยากรณ์), die Reportage (การรายงานข่าว) ฯลฯ
3. คำนามเพศกลาง (neutral) n-das
เช่น
das Kind (เด็ก), das Auto (รถยนต์), das Essen (อาหาร), das Deutsche
(ภาษาเยอรมัน), das Mädchen (เด็กผู้หญิง), das Hotel (โรงแรม), das Kino
(โรงภาพยนต์), das Museum (พิพิธภัณฑ์), das Schwein (หมู), das Lamm
(ลูกแกะ) ฯลฯ
เอาล่ะค่ะ
บางท่านอาจสงสัยว่าแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าคำนามคำใดเป็นเพศชายหรือหญิง
หรือเพศกลาง คำตอบก็คือ ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ
มีกฎที่อาจใช้ได้บ้างแต่ไม่เสมอไป เรื่องนี้ต้องอาศัยการจำและฝึกฝนค่ะ
ค่อย ๆ เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ และนำไปใช้ก็จะทำให้เราแม่นยำมากยิ่งขึ้นค่ะ
หลักในการกำหนดเพศของคำนาม
1. เพศตามธรรมชาติ เช่น der Vater-die Mutter (พ่อ-แม่), der
Bruder-die Schwester (พี่ชาย-น้องสาว), der Sohn-die Tochter
(ลูกชาย-ลูกสาว)
2. ชื่ออาชีพต่าง ๆ บ่งบอกว่าเป็นเพศชายหรือหญิง เช่น der
Lehrer-die Lehrerin (ครูชาย-หญิง), der Chef-die Chefin
(เจ้านาย/หัวหน้าชาย-หญิง), der Taxifahrer-die Taxifahrerin
(คนขับรถแท็กซี่ชาย-หญิง) ฯลฯ
3. วันและเดือน ต่าง ๆ เป็นเพศชาย เช่น der Montag, der
Dienstag...der Sonntag, der Januar, der Febuar, der März...der Dezember
4. ฤดูกาลทั้ง 4 เป็นเพศชายทั้งหมด ได้แก่ der Frühling, der Sommer, der Harbst และ der Winter
5. เวลาใน 1 วัน เป็นเพศชาย เช่น der Morgen, der Vormittag, der
Mittag, der Nachmittag และ der Abend ยกเว้นกลางคืนเป็น die Nacht
6. ชื่อทิศต่าง ๆ เป็นเพศชายทั้งหมด เช่น der Norden, der Süden
7. รถยนต์ทุกยี่ห้อเป็นเพศชายทั้งหมด เช่น der VW, der BMW, der Opel
8. คำนามที่ลงท้ายด้วย -heit, -kiet, -ung, -schaft, ei, -in
เป็นเพศหญิงทั้งหมด เช่น die Freiheit, die Übung, die Wissenschaft, die
Ärztin
9. จำนวนนับต่าง ๆ เป็นเป็นหญิง เช่น die Eins, die Tausend
10. คำนามที่ลงท้ายด้วย -chen, -lein เป็นเพศกลาง เช่น das Mädchen, das Büchlein
ภาษาเยอรมันเบื้องต้น- ประโยคขึ้นต้นด้วย Ich
Ich heisse | อิช ไฮ๊เซ่อะ | ฉันชื่อ |
Ich bin...Jahre alt | อิค บิน ยาเร่อะ..อ๊าน | ฉันอายุ...ปี |
Ich komme aus | อิช คอมเม่อะ เอ๊า | ฉันมาจากประเทศ |
Ich bin ledig | อิช บิน เลดิก | ฉันเป็นโสด |
Ich bin verheiratet | อิช บิน แฟไฮ๊ราเท็ท | ฉันแต่งงานแล้ว |
Ich habe kinder | อิช ฮาเบ่อะ คินดา | ฉันมีลูก |
Ich habe keine kinder | อิช ฮาเบ่อะ คายเน่อะ คินดา | ฉันไม่มีลูก |
ข้อสอบการทำใบขับขี่รถยนต์ ออนไลน์-ขั้นตอนแรก การลง ทะเบียน (Anmeldung)
ค่าธรรมเนียม เรียนทฤษฏี ครั้งเเรก -340 ยูโร ต้องบอกก่อนนะค่ะว่าเเต่ละโรงเรียนค่าสมัครเเละค่าเรียนต่างกันบ้างเเพง ถูก ไม่เท่ากัน โรงเรียนที่ไปสมัครต้องถือว่าเเพงมาก เเต่เราก็เลือกไม่ได้ เพราะเป็นโรงเรียนเดียวไกล้บ้าน นอกนั้นก็ไกลเหลือเกิน เเละเรียนช่วงค่ำด้วยมันก็ลำบากสำหรับคุณเเม่ที่มีลูกเล็กอย่างเรา ใหนจะค่ารถไปกลับอีก ตกลงเอาโรงเรียนนี่เเหล่ะ
-
ลักษณะหัองเรียนภาคทฤษฏี
-
-340 ยูโร ซึ่งเราต้องเข้าไปนั่งเรียน 14 ครั้งรวมกับเด็กฝรั่งอายุ 16- 18 ปี นี่ ก็ถือว่าอายมากๆ เด็กฝรั่งบางคนมองเราเหมือนไดโนเสาร์ตกยุคเลย เเต่ช่างเถอะกัดฟันเรียนต่อไป ซึ่งเวลาเราไปนั่งเรียนทุกครั้งเขาจะให้เซ็นชื่อเเละเราต้องจำว่าเราไปเรียนกี่ครั้งเเล้ว เพราะนัเรียนเยอะครูเขาจำไม่หมดหรอก ยกเว้นเเต่ถ้าเราถามเขาว่าเรียนครบหนือยังเขาถึงจะดูในเว็บซึ่งเก็บข้อมูลของเราไว้
ไอ้ตอนที่เราสมัครใหม่ๆ เขาจะให้ โค้ดล็อกอินในเว็บซึ่งมันจะมีข้อสอบให้เราลองทำที่บ้านด้วย ข้อสอบทั้งหมดมี 920 ข้อ ซึ่งเราต้องจำให้เเม่น ทุกข้อ ข้อระวังบางคำถาม คล้ายกันมากเเต่คำตอบคนละอันเลย
หลังจากเราเรียนครบชั่วโมง ครูเขายังไม่ให้เราไปสอบกับ TÜV เเต่เขาจะให้เราไปฝึกขับก่อน เพื่อให้เราจำใด้ง่ายขึ้นถ้าเรียนจากประสบการณ์จริง ซึ่งในระหว่างนี้ครูเขาจะสังเกตุว่าเราพร้อมที่จะส่งไปสอบยัง ถ้าถึงขั้นนี้เเล้วก็ต้องทำใจร่มๆเเหล่ะ
ขั้นตอนสอบทฤษฏี
- ถึงเเม้ว่าจะนั่งสอบโต๊ะติดกัน เเต่บอกก่อนว่า ใช้วิธีการลอกข้อสอบในสมัยเรียน ลืมไปได้เลย เพราะเเต่ละคน คอมเเต่ละเครื่องได้ข้อสอบต่างกัน ตอนนี้ก็เเล้วเเต่โชคเเล้วหล่ะ ถ้าโชคดีได้คำถามง่ายๆ เเบบที่เราจำเเม่น ก็ถือว่าดีไป เเต่ถ้าได้คำถามกวนๆ เเบบ คำถามคล้ายกันเเต่คำตอบต่างกัน ซวยเเน่
- ถ้าเราสอบครั้งเเรกไม่ผ่าน ปกติครูเขาจะโทรถามเราว่าเราพร้อมที่จะสอบอีกเมื่อไหร่ ถ้าเราพร้อมทันทีเพราะไอ้ที่สอบตก เกิดจากการกลัว หรือเกร็ง ครูเขาก็จะให้เวลาทบทวนใหม่อีก 2 อาทิตย์ เเต่ถ้าเรายังไม่พร้อมครูเขาก็จะให้เวลาพักไปทบทวนใหม่จนกว่าเราจะมั่นใจ เเล้วค่อยโทรไปนัดสอบกับครูอีกที ซึ่งเเต่ละครั้งเวลาสอบ ครูเขาจะมารับ ส่ง ถึงบ้าน พร้อมเอาเอกสารของเราเพื่อไปยื่นขอเข้าห้องสอบกับ TÜV
-
โพสล่าสุด
-
บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก · Baden-Württemberg Raiffeisenstr. 58 74182 Obersulm-Willsbach Tel.: 0713-45165651, 0713-45165652 Fax: 0713-4...
-
ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจนวดที่บ้าน 1. จัดเตรียมตบแต่งห้องสำหรับที่จะใช้เป็นห้องทำงาน หรือห้องนวด 2. การเปิดร้า...
-
ชีวิตเมืองนอก ไม่ได้จะดีเเละเป็นคุณนายไปตลอด ถึงคราวที่ตกทุกข์ได้ยากเเม้เเต่คนในครอบครัว หรือ เเม้เเต่เพื่อนๆก็ช่วยเราไม่ได้ มีอย่...
-
ทำงาน-วันหยุด ขอเล่าจากประสพการณ์ตัวเอง เเละจากเพื่อนคนไทยอีกหลายคนเเล้วกันนะ คนไทยที่เห็นๆ ส่วนมากก็ใช้ชีวิต ไม่ได้ต่างอะไรจากอยู่เมืองไ...
-
Wat Buddhametta Mahamongkol Tränkweg 7 · 63699 Kefenrod +4960499521978 http://www.wat-p.de/
-
การเเสดงโชว์ที่ดีที่สุด ถ่ายทอดความรู้สึกได้ดีเยี่ยม ผ่านเรื่องราวโดยการเต้นโชว์ ในรายการ Das Supertalent
-
สามีไม่ยอมต่อวีซ่าให้อยู่ต่อ ถ้ากรณีที่เเต่งงานกับชาวเยอรมันเเล้วไม่ถึง3 ปี เเละสามีไม่ยอมการันตีหรือต่อวีซ่าให้ เราสามารถใช้วิธีนี้ได้...
-
Schloss Neuschwanstein สั่งซื้อบัตรเข้าชม / Eintrittskarten / Ticket Center Eintrittskarten für Schloss Neuschwanstein sind ausschl...