วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564

รายชื่อวัดไทยในเยอรมัน


 บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก · Baden-Württemberg 

Raiffeisenstr. 58
74182 Obersulm-Willsbach

Wat Buddhanantaram   วัดพุทธนันทาราม

Hebelstr. 3
       74889 Sinsheim
    
Wat Phra Dhammakaya Schwarzwald  วัดพระธรรมกายชวาร์ซวัลด์ 

Wilhelm-Franz Str. 1
       77971 Kippenheim
      

ดูเพื่อมเติม

โรงเเรมไกล้สนามบินในเยอรมัน


กดตรงดูเเผนที่ให้ใหญ่ เพื่อดูราคาโรงเเรมบริเวณไกล้เคียง เเละโรงเเรมบริเวณสนามบินอื่นๆ

 

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

โรคซึมเศร้า: สิ่งที่คุณควรทราบ


 รับรู้ถึงสัญญาณต่างๆ

แชร์
โรคซึมเศร้าเป็นความเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยจะมีอาการต่อไปนี้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ได้แก่ มีอาการโศกเศร้าอย่างต่อเนื่อง หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตามปกติจะชื่นชอบ และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังอาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย เช่น ไม่มีพละกำลัง ความอยากอาหารหรือนิสัยการนอนหลับเปลี่ยนไป วิตกกังวล ประสบปัญหาในการจดจ่อหรือการตัดสินใจ กระวนกระวาย รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือรู้สึกสิ้นหวัง และคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตาย
อย่ารู้สึกไม่ดีกับการเป็นโรคซึมเศร้า
แชร์
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจพบว่าคุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้มากเท่าที่เคย แต่นั่นเป็นเรื่องธรรมดา
พูดคุยกับใครสักคน
แชร์
พูดคุยกับคนที่คุณไว้วางใจเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นหลังจากได้พูดคุยกับคนที่ใส่ใจเกี่ยวกับพวกเขา
ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
แชร์
บุคลากรสาธารณสุขหรือแพทย์ในพื้นที่ของคุณถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการบำบัด การให้ยา หรือการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน หากคุณรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย โปรดติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นทันที โดยคุณสามารถติดต่อสายด่วนช่วยเหลือเพื่อพูดคุยกับอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว หรือพูดคุยกับเพื่อนหรือคนที่คุณรักเพื่อขอความช่วยเหลือได้
ใช้เวลากับผู้คนและกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ
แชร์
ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนๆ อยู่เสมอ หมั่นทำกิจกรรมที่คุณเคยชื่นชอบเมื่อตอนที่คุณยังสุขภาพดี
ดูแลสุขภาพของคุณ
แชร์
ออกกำลังกายเป็นประจำ แม้จะเป็นเพียงการเดินระยะทางสั้นๆ สร้างนิสัยการรับประทานอาหารและการนอนให้เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยาผิดกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคซึมเศร้าแย่ลงได้
เขียนระบายความคิดของคุณออกมา
แชร์
พยายามเขียนบันทึกเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณเป็นประจำ การเขียนบันทึกสามารถช่วยให้คุณได้ระบายความคิดลงบนกระดาษ และคุณยังอาจได้เรียนรู้จากสิ่งที่คุณเขียน รวมถึงสามารถจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้สึกขอบคุณได้อีกด้วย

ประสบปัญหาความรุนแรงในครัวเรือน

 หากคุณกำลังถูกทำร้ายหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย โปรดอ่านเคล็ดลับเหล่านี้เกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยและขอความช่วยเหลือ


สื่อสารอย่างปลอดภัย
เล่าความกังวลให้เพื่อน ครอบครัว หรือเพื่อนบ้านที่คุณไว้ใจฟัง ลองวางแผนในการติดต่อกับคนเหล่านั้นเมื่อคุณต้องการความช่วยเหลือ โดยอาจใช้คำ ประโยค หรือแม้แต่อีโมจิเพื่อเป็นรหัสลับที่จะช่วยให้คุณสามารถสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อสายด่วนช่วยเหลือที่รับมือกับปัญหาความรุนแรงในครัวเรือนโดยเฉพาะ

มีแผนในการหนี
ลองคิดหาเหตุผลเพื่อใช้ในการออกจากบ้านในเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืน เช่น คุณอาจบอกว่าคุณจำเป็นต้องไปร้านขายยาหรือไปซื้อของที่ร้านค้า และให้โทรขอความช่วยเหลือเมื่อไปถึงสถานที่ดังกล่าว



เตรียมตัวให้พร้อม
ชาร์จแบตมือถือให้พร้อมใช้และเก็บโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัว จำหรือจดหมายเลขโทรศัพท์ของคนที่คุณสามารถโทรขอความช่วยเหลือเอาไว้ หากคุณตกอยู่ในอันตราย ให้โทรหาตำรวจหากสามารถทำได้โดยไม่เป็นอันตราย

พูดคุยกับบุตรหลานของคุณ
อธิบายถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นให้บุตรหลานของคุณเข้าใจและให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการวางแผน เคล็ดลับด้านล่างนี้สามารถช่วยให้คุณพูดคุยเรื่องนี้กับบุตรหลานได้
  • บอกบุตรหลานว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของพวกเขาและพวกเขาไม่ได้เป็นคนก่อปัญหานี้ บอกเด็กๆ ว่าคุณรักพวกเขาแค่ไหนและคุณจะสนับสนุนพวกเขาเสมอไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • บอกบุตรหลานว่าคุณกำลังวางแผนด้านความปลอดภัยสำหรับกรณีฉุกเฉิน เมื่อคุณวางแผนในเรื่องนี้กับบุตรหลาน อย่าลืมว่าเด็กๆ อาจบอกข้อมูลนี้กับคู่ครองที่ชอบใช้ความรุนแรงของคุณได้ ลองใช้คำพูดอย่าง "เรากำลังฝึกว่าต้องทำอะไรเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น" แทน "เรากำลังวางแผนว่าลูกสามารถทำอะไรได้เมื่อพ่อ/แม่ใช้ความรุนแรง"
  • สอนลูกว่าต้องโทรแจ้งตำรวจหรือบริการฉุกเฉินเมื่อใดและโทรอย่างไรหากพวกเขามีโอกาสโทรได้อย่างปลอดภัย
  • บอกให้ลูกๆ หาโอกาสออกจากบ้านเมื่อทำได้หากสถานการณ์เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น อย่าลืมบอกให้ลูกๆ รู้ว่าต้องไปที่ไหน
  • คิดคำที่เป็นรหัสลับระหว่างคุณและบุตรหลานเพื่อใช้บอกให้พวกเขาออกจากบ้านในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน อย่าลืมย้ำด้วยว่าพวกเขาจะต้องไม่บอกความหมายของรหัสลับนี้กับคนอื่น
มองหารูปแบบและสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรง
สังเกตรูปแบบและสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้คู่ครองของคุณลงมือใช้ความรุนแรงในระดับต่างๆ การทราบรูปแบบและสิ่งเร้าจะช่วยให้คุณสามารถรู้ได้ว่าเมื่อใดที่ระดับการใช้ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น

โพสล่าสุด